Latest Movie :

ประกาศ :: งดอัพเดต และเผยแพร่ภาพยนต์ของบริษัท M Pictures ตามหนังสือขอความร่วมมือไม่ละเมิดลิขสิทธิ์

หมายเหตุ : เว็บนี้ Share Video มาจาก เว็บบริการต่างๆ เช่น Mthai One2Up Youtube และอื่นๆ ไม่ได้เป็นเจ้าของไฟล์หรืออัพโหลดแต่อย่างใด หากมีวีดีโอใดละเมิดลิขสิขธิ์ โปรดแจ้งลบได้ที่นี้ ทางเว็บไซต์ยินดีให้ความร่วมมือและลบวีดิโอดังกล่าวออกจากระบบโดยเร็ว

หมายเหตุ ... คลิปวิดีโอทั้งหมดบนเว็บไซต์นี้เป็นเพียงการนำลิงค์มาจากเว็บอัพโหลดคลิปเท่านั้น vdo ทั้งหมดถูกเก็บอยู่ที่เว็บไซต์บริการฝากไฟล์วิดีโอเหล่านั้นตามที่มีลิงค์ชี้ไปโปรดทราบว่าทางผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้เพียงไปพบลิงค์ จากเว็บเหล่านั้นและนำมารวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ เพียงเพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาคลิปต่างๆเหล่านั้นได้ง่ายขึ้นเราไม่ได้เป็นผู้อัพโหลดไฟล์เหล่านั้น และหากท่านพบวิดีโออันใดที่ละเมิดลิขสิทธิ์โปรดแจ้งผู้ดูแลเว็บลบคลิปดังกล่าวออกจากเว็บแห่งนี้ต่อไป ...
Home » , , , » King Naresuan 1 ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 1 องค์ประกันหงสา

King Naresuan 1 ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 1 องค์ประกันหงสา

{[['']]}
King Naresuan 1 ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 1 องค์ประกันหงสาพุทธศักราช 2106 พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง(สมภพ เบญจาทิกุล) ทรงกรีฑาทัพเข้าตีราชอาณาจักรอยุธยาทางด่านระแหงแขวงเมืองตาก ทัพพม่ารามัญซึ่งมีรี้พลเหลือคณานับได้เข้ายึดครองหัวเมืองฝ่ายเหนือของราช อาณาจักรอยุธยาอันมีเมืองพิษณุโลกเป็นประหนึ่งเมืองราชธานีได้เป็นผลสำเร็จ ครั้งนั้น สมเด็จพระมหาธรรมราชา(ฉัตรชัย เปล่งพานิช) พระราชบิดาของสมเด็จพระนเรศวรหรือพระองค์ดำ(ปรัชฌา สนั่นวัฒนานนท์) ซึ่งเป็นเจ้าแผ่นดินครองเมืองพิษณุโลก จำต้องยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าบุเรงนองเพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตอาณาประชาราษฎร์มิให้ต้องมีภยันตราย และจำต้องยอมร่วมกระบวนทัพพม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยา ศึกครั้งนั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ(ศรัณยู วงษ์กระจ่าง) เจ้าแผ่นดินอยุธยาทรงยอมเจรจาหย่าศึกกับพม่ารามัญ และยอมถวายช้างเผือก 4 เชือก ทั้งให้สมเด็จพระราเมศวรราชโอรส โดยเสด็จพระเจ้าบุเรงนองไปประทับยังนครหงสาวดีตามพระประสงค์ของกษัตริย์พม่า ข้างสมเด็จพระมหาธรรมราชาซึ่งได้ยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าบุเรงนอง ก็ได้ถวายสมเด็จพระนเรศวรราชโอรสองค์โตให้ไปเป็นองค์ประกันประทับยังหงสาประเทศเฉกเช่นกัน กาลครั้งนั้นพระองค์ทรงมีพระชนมายุได้เพียง 9 ชันษา สมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นที่รักใคร่ของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ประดุจพระราชบุตรร่วมสาย สันตติวงศ์ ด้วยองค์ยุพราชอยุธยาทรงมีพระปรีชาสามารถด้านพิชัยยุทธ ทั้งยังองอาจกล้าหาญสบพระทัยกษัตริย์พม่าซึ่งก็ทรงเป็นนักการทหาร นิยมผู้มีคุณสมบัติเป็นนักรบเยี่ยงพระองค์ พระเจ้าบุเรงนองทรงมีสายพระเนตรยาวไกล แลเห็นว่าสืบไปเบื้องหน้าสมเด็จพระนเรศวรจะได้ขึ้นเป็นใหญ่ในอุษาคเนย์ประเทศ จึงทรงคิดใคร่ปลูกฝังให้สมเด็จพระนเรศวรผูกพระทัยรักแผ่นดินหงสา เพื่อจะได้อาศัยพระองค์เป็นผู้สืบอำนาจอุปถัมภ์ค้ำชูราชอาณาจักร ซึ่งพระองค์ทรงสถาปนาขึ้นด้วยความยากลำบาก พระเจ้าบุเรงนองทรงโปรดให้พระมหาเถรคันฉ่อง(สรพงษ์ ชาตรี) พระรามัญผู้มากด้วยวิทยาคุณและเจนจบในตำราพิชัยสงคราม เป็นพระอาจารย์ถ่ายทอดศิลปวิทยาการแก่สมเด็จพระนเรศวร นับแต่เริ่มเข้าประทับในหงสานคร ยังผลให้ยุพราชอยุธยาเชี่ยวชาญการยุทธ กลช้าง กลม้า กลศึก ทั้งข้างอยุธยาและข้างพม่ารามัญ หาผู้เสมอเหมือนมิได้ เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าพระเจ้าบุเรงนองนั้นหาได้วางพระทัยในพระราชโอรส คือ มังเอิน หรือ พระเจ้านันทบุเรง(จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์) และพระราชนัดดา มังสามเกียด ถึงแม้ทั้งสองพระองค์จะทรงเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขโดยตรง ด้วยทรงเล็งเห็นว่าราชนิกุลทั้งสองพระองค์นั้น หาได้เป็นผู้ทรงคุณธรรมอันจะน้อมนำเป็นพื้นฐานให้เติบใหญ่เป็นบูรพกษัตริย์ปกป้องครองแผ่นดิน ที่พระองค์ทรงสร้างและทำนุบำรุงมาด้วยกำลังสติปัญญาและความรักใคร่หวงแหน เหตุทั้งนี้เป็นชนวนให้พระเจ้านันทบุเรงและราชโอรสมังสามเกียดขัดพระทัย ทั้งผูกจิตริษยาสมเด็จพระนเรศวรซึ่งเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองกว่าราชนิกุลข้างพม่าทั้งหลายทั้งสิ้น เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงหยั่งรู้ว่าพระอัจฉริยภาพที่ทรงมีเหนือพระยุพราชของหงสาวดี กำลังชักนำภยันตรายมา พระองค์จึงทรงเสี่ยงภัยเดินทางจากพุกามประเทศสู่มาตุภูมิ อโยธยา
Share this article :

Popular Posts